ของหมั้น
การหมั้นตามกฎหมายไทย ไม่มีแบบแผน หรือขั้นตอนตามกฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติอย่างชัดเจน เป็นเพียงพิธี แต่กฎหมายกำหนด ไว้ดังนี้ 1 ชายและหญิง อายุ 17 ปีขึ้นไป ถ้าอายุ 17 - 20 ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองก่อน 2 ชายต้องให้ของหมั้นแก่หญิง เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง ที่ดิน รถยนต์ พันธบัตร ใบหุ้น เป็นต้น และของหมั้นนั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีที่หมั้นกัน และตกเป็นส่วนตัวของหญิงเมื่อแต่งงานแล้ว
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายต้องมีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย หากให้ทรัพย์สินกันโดยที่ชายหญิงไม่มีเจตนาไปจดทะเบียนสมรส ก็ไม่ถือว่าเป็นของหมั้นตามความหมายของกฎหมาย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ฝ่ายชายเรียกคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535 โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้ฝ่ายหญิง จึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
หลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การบอกเลิกสัญญาหมั้นของการคืนของหมั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1442 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย
มาตรา 1443 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นแก่ชาย
มาตรา 1444 ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลัง การหมั้นคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน แก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น
การเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้ (1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น (2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร (3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับหรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้
การเรียกค่าจากบุคคลอื่นที่มาร่วมประเวณีกับคู่หมั้น หรือที่เรียกกันว่า "เป็นชู้เหนือขันหมาก" ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1445 ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้น ของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้วตาม มาตรา 1442 หรือ มาตรา 1443 แล้วแต่กรณี
ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ
ประเด็น พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้น
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2538 การที่หญิงหมั้นกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายและเมื่อแต่งงานตามประเพณีแล้วหญิงชวนชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้งหญิงย่อมต้องการอยู่กินกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายการที่บิดามารดาและพี่ของชายนั้นไล่หญิงออกจากบ้านหลังจากนั้นชายก็มิได้กระทำการใดเพื่อให้หญิงกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยาชายนั้นจึงผิดสัญญาหมั้น หญิงและชายต่างมีฐานะดีในการจัดงานเลี้ยงแต่งงานมีการเชิญแขกประมาณ 600 คน และเลี้ยงโต๊ะจีนการที่หญิงซื้อชุดแต่งงานเพื่อเข้าพิธีจำนวน 4 ชุดเป็นเงิน 28,000 บาท ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า เป็นการใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสเรียกค่าทดแทนได้ หญิงซื้อผ้ารับไหว้เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายตามประเพณีมิใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนได้
การเลิกสัญญาหมั้น มี 3 กรณี ดังนี้ 1 ทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกกัน จะด้วยวาจาก็ได้ โดยฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่ฝ่ายชาย 2 ถึงแก่ความตาย กรณีหญิงฆ่าตัวตาย ชายก็เรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ 3 บอกเลิก เนื่องจากอีกฝ่ายมีเหตุสำคัญอันไม่สมควรสมรสด้วย อายุความเรียกคืนของหมั้น
มาตรา 1447/2 สิทธิเรียกคืนของหมั้นตามมาตรา 1439 ให้มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
สิทธิเรียกคืนของหมั้นตามมาตรา 1442 ให้มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ 1 กรณีชายหญิงสมัครใจอยู่ด้วยกัน โดยไม่ประสงค์จะไปจดทะเบียนสมรส จะอ้างว่าอีกฝ่ายผิดสัญญาหมั้นไม่ได้ 2 พฤติการณ์ที่ถือว่าผิดสัญญาหมั้น เช่น ชวนไปจดทะเบียนแล้วหลายครั้ง แต่ไม่ไป่ มีพฤติกรรมชั่วร้าย เที่ยวเตร่ เล่นการพนัน พฤติกรรมชู้สาว ไปร่วมประเวณีกับคนอื่น ทอดทิ้งอีกฝ่ายไปอยู่ที่ไหน หมิ่นประมาท เป็นโรคเอดส์ อัมพาต หรือ เป็นบ้า เป็นต้น
Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่, ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์
#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่
|