ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel0819511100

           ^ กดเบอร์โทรข้างบนเพื่อติดต่อได้เลยคะ 

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed
 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 

 
 
 
 
 
LINE ID : 0819511100




คดีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

 

เมื่อสามีภริยาหย่าขาดจากกันแล้ว แต่ยังคงต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรต่อไป เพราะการหย่าขาดจากกัน มิได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรสิ้นสุดลง โดยในการหย่าโดยความยินยอมอาจมีการกำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ แต่หากมิได้ตกลงกันไว้ในท้ายทะเบียนการหย่า ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ต้องให้ศาลสั่งกำหนดจำนวนเงินให้ตามสมควร  

กรณีทอดทิ้งไม่เลี้ยงดู โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ย่อมมีความผิดอาญา มาตรา 307 

ค่าอุปการะเลี้ยงดู ถือเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จะใช้อำนาจปกครองเพียงฝ่ายเดียว หากอีกฝ่ายเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดู ก็สามารถมีสิทธิเรียกร้องในนามตนเอง โดยกรณีเช่นนี้มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่ฝ่ายนั้นได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว 

ค่าอุปการะเลี้ยงดู ได้แก่  
ค่าที่พักอาศัย  
ค่าอาหาร  
ค่าเสื้อผ้า  
ค่าการศึกษาอบรม  
ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ 

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 1691/2528 
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน 

สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่ง โดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้ 
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 3237/2533 
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แม้ในคำบรรยายฟ้องกล่าวว่าโจทก์ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลย แต่ในเอกสารท้ายฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์และบุตร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้ว่าขอให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตัวโจทก์เองด้วย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์กระทำแทนบุตรก็ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง 

ประเด็น แม้โอนบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมบุคคลอื่นแล้ว ก็ยังสามารถเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้อยู่ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้านายทะเบียนว่า จำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์เป็นรายเดือน จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าว แม้ภายหลังที่ยื่นฟ้องแล้วโจทก์จะได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของสามีใหม่ แต่บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่เกิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1578/28 โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง   

ประเด็น ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลายคน ศาลจะสั่งรวมไม่ได้ ต้องสั่งเป็นรายบุคคลไป 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546 
สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรผู้เยาว์แต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข 

  

ประเด็น หากศาลมีคำพิพากษาให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่ไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกตัวมาสอบถามและตักเตือนได้ หากไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของศาล ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ศาลมีอำนาจออกหมายจับและสั่งกักขังจนกว่าจะนำเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูมาชำระ แต่ไม่เกิน 15 วัน ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธิพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 162 

ประเด็น อายุความ 5 ปี นับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว (เรียกย้อนหลัง) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548 
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย 

บทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296 

โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522 

การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ 

มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี 

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 

มาตรา 162 ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ ถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำเงินมาวางศาลตามเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่ศาลกำหนด ในกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษามีรายได้ประจำ ศาลอาจสั่งให้อายัดเงินเท่าจำนวนที่จะชำระเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือค่าเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน แล้วให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินดังกล่าวนำเงินมาวางศาลแทนลูกหนี้ตามคำพิพากษา 

เมื่อความปรากฏต่อศาลเองหรือผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ ร้องต่อศาลว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลเรียกตัวมาสอบถาม หากปรากฏเป็นความจริงให้ศาลว่ากล่าวตักเตือนให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล 

ในกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของศาลตามวรรคสองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลมีอำนาจออกหมายจับและสั่งให้กักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้จนกว่าลูกหนี้จะนำเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพมาชำระหรือวางศาล แต่ห้ามมิให้กักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่ละครั้งเกินกว่า 15 วันนับแต่วันจับหรือกักขัง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 
ภาค 5 ครอบครัว 

มาตรา 36 หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลซึ่งถูกเรียกร้องให้อุปการะเลี้ยงดู 

อย่างไรก็ดี บุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเรียกร้องเกินกว่าที่กฎหมายไทยอนุญาตไม่ได้ 
ประมวลกฎหมายอาญา ที่เกี่ยวข้อง 

มาตรา 307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่ง พึ่งตนตนเองมิได้ เพราะอายุ ความป่วยเจ็บ กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ 
1 การฟ้องคดีตามกฎหมายนี้ บิดาหรือมารดา เป็นโจทก์ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ไม่เป็นคดีอุทลุม 
2 กรณียังไม่ได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรและจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีเดียวกันได้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตร อ้างอิงคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2268/2533 
3 เมื่อมีข้อตกลงเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเล่าเรียน และค่ารักษาพยาบาลบุตร สัญญาแล้ว จะมีอ้างเหตุภาระต้องเลี้ยงดูบุตรที่เกิดกับภริยาคนใหม่ และมีหนี้สินมาอ้างเพื่อปัดความรับผิดไม่ได้ 
4 สามารถขอให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างดำเนินคดีได้ โดยวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษา  
5 สามารถขอแก้ไข ลด เพิ่ม ได้ หากฐานะและรายได้เปลี่ยนแปลงไป 
6 ค่าเลี้ยงดูควรใช้อายุเป็นเกณฑ์มากกว่าการศึกษา 
 

Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่,  ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์

#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×