คำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ของเรามีบริการงานคดีเกี่ยวกับมรดกทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศ มีบริการยื่นคำร้องแต่งตั้ง ผู้จัดการมรดก
ยื่นคำร้องคัดค้านการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
เป็นตัวกลางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างทายาทโดยธรรม ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ของเรายึดหลักประนีประนอม
เนื่องจากทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเป็นญาติพี่น้องกัน ทั้งนั้น ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ โดยความร่วมมือกับสภาทนายความเชียงใหม่มีประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อให้สามารถตกลงกัน
และไม่สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน หากมีการแย่งมรดกกัน ท่านควรปรึกษาทนายความเชียงใหม่เก่ง
ๆ เพื่อช่วยหาแนวทางออกที่ดีที่สุด
วิธีการยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก
นำคำร้องพร้อมทั้งเอกสารเอกสารแนบท้ายคำร้อง ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่
ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่
ขอแนะนำว่าไปยื่นที่ห้องรับฟ้องแพ่ง ของศาลจังหวัด โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการ “ยื่นคำร้องขอจัดการมรดก”
โดยทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ จะเตรียมคำร้องพร้อมเอกสาร จำนวน 3
ชุด คือ ตัวจริงส่งศาล 1 ชุด สำเนาติดสำนวนคดีศาล 1 ชุด และสำเนานำกลับ 1 ชุด
เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจคำร้องว่าครบองค์ประกอบหรือไม่
พร้อมทั้งตรวจเอกสารแนบท้ายคำร้อง
โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจดูว่า เจ้ามรดกมีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือไม่
เสียชีวิตที่ไหน
และสำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ขอเรียนว่าเจ้าหน้าที่จะสอบถามว่ามีหนังสือยินยอมทายาทหรือไม่
เจ้าหน้าที่จะทำการคิดค่าใช้จ่าย คำร้องละ 200 บาท (กรณีเจ้ามรดกมี 2
คน มรดก 2 กอง จ่ายเพิ่มอีก 200 บาท)
ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
และค่านำส่งหมายไปยังที่ว่าการอำเภอที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตามอัตราค่านำหมาย
เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ลงวันนัดไต่สวนคำร้อง
ว่าสำนักงานทนายความเชียงใหม่มีความประสงค์ให้ลงวันนัดเป็นวันปกติหรือเป็นไนท์คอร์ท
ลงวันนัด และลงลายมือชื่อ ทราบคำสั่งและทราบวันนัด
กรณี ไม่มีหนังสือยินยอมทายาท ทางทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ศาลจะส่งสำเนาคำร้องพร้อมหมายนัดไต่สวนคำร้องไปให้ทายาทรับทราบ
ให้มาคัดค้านหรือไม่คัดค้าน หรือจะเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันกับผู้ร้อง
(โดยต้องทำเป็นคำแถลงและจ่ายค่านำหมาย)
สิ่งที่ต้องทราบ
สาเหตุการตายเจ้ามรดก
เมื่อตาย มีลูกทั้งหมดกี่คน และทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า
จะมีการถามว่ามีคู่สมรสจดทะเบียนหรือไม่ บิดามารดายังมีชีวิตอยู่หรือไม่
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือไม่
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้หรือไม่
ขณะตาย ผู้ตายมีทรัพย์สินใดบ้าง
ขณะตาย ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายขณะที่ตาย
และทางทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่า
จะต้องมีทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก และ ของผู้จัดการมรดก
สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ตาย
สำเนาใบมรณะบัตรของบิดามารดา
ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่า
กรณีบิดามารดาของ(เจ้ามรดก ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ตาย
สำเนาทะเบียนการหย่าของผู้ตาย (ถ้าหย่าแล้ว)
สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว
ชื่อสกุล
ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย (ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ)
สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ
บัตรประจำตัวประชาชน
ของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก และ ของผู้จัดการมรดก
สำเนาเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น
โฉนดที่ดิน และสัญญาจำนอง ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์
อาวุธปืน
สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
ใบหุ้น และอื่นๆ เป็นต้น
สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน
และ สำเนาทะเบียนบ้านของทายาท ( ลูกเจ้ามรดกทุกคน , บิดามารดาเจ้ามรดก(ที่มีชีวิตอยู่) , คู่สมรสเจ้ามรดก
(ถ้ายังไม่หย่า) )
หนังสือยินยอมของทายาท (ในกรณีที่มีทายาท)
โดยทางทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ยังรับงานร่างพินัยกรรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
และด้านว่าความและแก้ต่างคดีให้แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อให้ได้รับความ
ยุติธรรมทางกฎหมาย
นอกจากนี้ทางทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ยังมีประสบการณ์ด้านการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย
โดยเป็นที่ปรึกษากฎหมายของนักธุรกิจ เชี่ยวชาญด้านการร่างสัญญา
งานจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
งานวีซ่า งานรับรองเอกสาร (Notary Public) งานจดทะเบียนแก้ไขห้างหุ้นส่วนบริษัท
ร้านค้า
และวางแผนระบบธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ของเรา
มีเป้าหมายในการทำงานที่มุ่งต่อความต้องการสูงสุดของผู้รับบริการ
โดยตั้งอยู่ความถูกต้องและความยุติธรรม โดยทีมงานที่ปรึกษาซึ่งเป็นทนายความเชียงใหม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางกฎหมาย
ด้วยความซื่อสัตย์ตามหลักจริยธรรมวิชาชีพทนายความในจังหวัดเชียงใหม่
และรักษาความลับของลูกค้าเป็นสำคัญยิ่ง
ผู้จัดการมรดก
เนื่องจากในกองมรดกหนึ่งๆนั้นมีทรัพย์สินเป็นจำนวนมากหรือมีทายาทหลายคนที่อาจมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดก
หรือมีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
หรือมีทรัพย์สินในกองมรดกบางส่วนต้องมีการดำเนินการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์
ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าอาทิเช่น
อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ หรือเงินฝากในธนาคาร เป็นต้น
ซึ่งในทางปฏิบัติธนาคารจะไม่ยอมให้ถอนเงินนั้น
จนกว่าศาลจะมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกให้แล้วเสร็จก่อน
เหตุที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกตาย
ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไปหรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการหรือมีเหตุขัดขวางในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก
ข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด
ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้วนับแต่นั้นทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดก
และผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่สามารถกระทำนิติกรรมใดๆกับบุคคลภายนอกได้ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกและต้องทำรายงานการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน
๑ ปี
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
หรือเริ่มนับตั้งแต่วันที่รู้ถึงการแต่งตั้งตามพินัยกรรมที่มอบหมายไว้แก่ตน
ผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการด้วยตนเอง ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าเว้นแต่จะทำการโดยตัวแทนได้ตามอำนาจที่ให้ไว้ชัดแจ้งหรือโดยปริยายในพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาลหรือโดยพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตาย
หากผู้ตายได้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะไว้ แต่ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใดๆซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้
ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ เว้นแต่พินัยกรรมอนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล
สืบหาตัวผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร
รวบรวมทรัพย์สินในกองมรดกก่อนมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไป
เรียกเก็บหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกภายในเวลาเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้วผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก
ทำบัญชีทรัพย์มรดก ในการทำบัญชีทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกนั้น ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์ภายใน ๑๕
วัน หากไม่ดำเนินการ ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้
และเมื่อผู้จัดการมรดกได้ลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน ๑๕ วันแล้ว
ผู้จัดการมรดกจะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์ให้เสร็จภายใน ๑ เดือน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากผู้จัดการมรดกร้องขอก่อนสิ้นกำหนดเวลา ๑ เดือน
ศาลจะอนุญาตให้ขยายต่อไปอีกก็ได้
แถลงความเป็นไปในการจัดการทรัพย์มรดก
เมื่อทายาทร้องขอหรือในเวลาซึ่งสมควรแก่เหตุ
หรือศาลอาจสั่งให้ผู้จัดการมรดกแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินในกองมรดกได้ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าเมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อทายาท
หรือพนักงานอัยการร้องขอ
ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า เว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทโดยจำนวนข้างมากจะได้กำหนดให้ไว้
ความรับผิด เมื่อผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๕๒ วรรคแรก ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕๓ ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น
หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆโดยทุจริต
จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕๔ ถ้าการกระทำความผิดตามมารตรา ๓๕๒ หรือมาตรา ๓๕๓
ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล
หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ
อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๓๕๖
ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งตั้ง
ดังนี้
1. ต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายใน 15 วัน
นับแต่วันที่เริ่มเป็นผู้จัดการมรดก และต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 1 เดือน
หากไม่เสร็จก็สามารถขออนุญาตต่อศาลขยายเวลาอีกได้ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า บัญชีทรัพย์มรดกดังกล่าว ต้องมีพยาน
2 คน และต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกด้วย โดยบัญชีทรัพย์มรดกต้องประกอบด้วยรายการแสดงว่าเป็นทรัพย์สินใดบ้าง
สิทธิเรียกร้องอะไรบ้าง เงินมูลค่าเท่าใด และแจ้งจำนวนเจ้าหนี้ว่ามีใครบ้าง
เป็นเงินรวมเท่าใด ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า
ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำให้เสร็จภายในกำหนดเวลา
และตามแบบที่กำหนดหรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต
หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้
2.
ผู้จัดการมรดกต้องจัดการทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการ และแบ่งปันมรดกแก่ทายาททั้งหมด
ให้เสร็จภายใน 1 ปี
นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งตั้ง โดยจำนวนข้างมากของทายาท
หรือศาลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
3. ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก
เว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้
4. ผู้จัดการมรดกจะทำพินัยกรรมใดๆ
ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล
5. ผู้จัดการมรดกต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง
6. ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก
โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใดๆ
หรือประโยชน์อื่นใด
อันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัวทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่า ไม่ผูกพันทายาท เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย
7. ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร
8.
ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก
9. ผู้จัดการมรดกต้องจัดแบ่งสินมรดกและมอบโดยเร็วโดยชำระหนี้กองมรดก(ถ้ามี)เสียก่อน
หลักกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1711 ผู้จัดการมรดกนั้นรวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรม
หรือโดยคำสั่งศาล
มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาล
ขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้ (2)
เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ
หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
มาตรา 1716 หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1)
ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือ
บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3)
บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
อายุความคดีมรดก
ห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกิน 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุด ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1733 วรรคสอง
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ครับ
1. เงื่อนไข ที่จะขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อเจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดก และมีเหตุขัดข้องที่จะต้องจัดการมรดก
2. ผู้เหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดกนั้น
ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทของเจ้ามรดกจะเป็นใครก็ได้
แต่ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียดังที่กล่าวแล้ว
ทายาทอาจขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นก็ได้
ถ้าหากมีการคัดค้านคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยส่วนมากแล้วศาลจะมีคำสั่งให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันแต่ถึงอย่างไรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล
ประการสำคัญผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกต้องบรรลุนิติภาวะแล้วไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
คนประเภทนี้เห็นแล้วว่าไม่สามารถรู้ผิดชอบ หย่อนความคิดอ่าน
มีหนี้สินล้นพ้นตัวขืนไปจัดการทรัพย์สินคนอื่นก็มีแต่จะเสียหายยิ่งขึ้นไปเท่านั้น
3. การยื่นคำร้อง ต้องยื่นที่ศาลที่มีเขตอำนาจตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก
เช่น เชียงใหม่ เป็นต้น ก็ให้ยื่นศาลจังหวัดนั้นๆ
4. เหตุในการยื่นคำร้องขอถอดผู้จัดการมรดก และขอตั้งผู้จัดการมรดกแทน
4.1 ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ เช่น
มิได้ทำบัญชีทรัพย์ให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดหรือไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทในเวลาที่สมควร
4.2 เพราะเหตุอย่างอื่น เช่น
ปกปิดทายาทต่อศาลหรือไม่ติดตามหากทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้จัดการมรดกคิดค่าจ้างในการจัดการมรดกเป็นจำนวนมากอันส่อไปในทางทุจริต
5.
ชาวต่างชาติสามารถยื่นคำร้องขอตั้งตนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกได้
ไม่มีกฎหมายห้ามไว้
และในทางปฏิบัติอาจเกิดข้อยุ่งยากในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน
6. ได้รับคำสั่งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก แล้วไม่ดำเนินการภายใน 2
ปี ถือได้ว่าทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
7. สามีภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์มรดก สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (ฏ. 1086/2520)
8. นิติบุคคล สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ฏ. 3166/2529)
Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่, ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์
#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่
Share on Facebook
|