ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel0819511100

           ^ กดเบอร์โทรข้างบนเพื่อติดต่อได้เลยคะ 

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed
 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 

 
 
 
 
 
LINE ID : 0819511100




กู้ยืม – ค้ำประกัน

 

กู้ยืมเงิน คือ สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้กู้ได้ขอยืมเงินจำนวนหนึ่งจากบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้  และผู้กู้ตกลงจะใช้เงินคืนภายในกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ โดยผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินจะมีผลสมบูรณ์เมื่อส่งมอบเงินให้กับผู้กู้ และมีหลักฐานในการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้การกู้ยืมเงินกันตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงข้อความว่าได้มีการกู้เงินกันจริง และได้กู้ยืมเงินกันจำนวนเท่าใด โดยต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้กู้เป็นสำคัญ ถ้าการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ทำเป็นหนังสือ สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่า ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

 

ค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้

 

หลักฐานการกู้ยืมเงิน - ค้ำประกัน

หลักฐานการกู้ยืมเงินต้องเป็นหนังสือ ซึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ ต้องมีสาระสำคัญให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินไปก็พอ โดยกฎหมายไม่ได้บังคับให้ลงชื่อผู้ให้กู้ไว้ด้วย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าหากผู้กู้ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ก็ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน หลักฐานการค้ำประกันต้องเป็นหนังสือ ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน กรณีผู้ค้ำประกันพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน

 

ตัวอย่าง

"ข้าพเจ้านายอดสู ได้กู้ยืมเงินจากเฮียล่ำซ่ำ เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท โดยข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้ภายในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2555 ลงชื่อ นายอดสู ผู้กู้" ส่วนเอกสารที่ระบุว่าได้รับเงิน โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นหนี้หรือต้องคืนเงินให้ ก็ไม่เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน โดยไม่จำเป็นต้องทำหรือมีขึ้นในขณะกู้ยืม แต่อย่างช้าที่สุดต้องทำและมีอยู่ขณะยื่นคำฟ้องขอให้บังคับชำระหนี้กู้ยืม ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2161/2541 ตัวอย่างเช่น สัญญากู้ บันทึกประจำวัน หนังสือรับสภาพหนี้ จดหมายว่าจะใช้คืนใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น 

 

อัตราการเรียกดอกเบี้ย

การกู้ยืมเงินตามกฎมายกำหนดว่า ผู้ให้กู้จะเรียกดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 15 บาทต่อปีหรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือนไม่ได้ ถ้ามีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะคือเสียเปล่า ถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ เงินที่ชำระหนี้ต้องนำไปหักกับต้นเงินก่อน จะนำไปหักดอกเบี้ยไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2131/2560 ผู้ให้กู้คงเรียกได้เฉพาะแต่เงินต้นเท่านั้น 

 

และนอกจากนี้ผู้ให้กู้อาจได้รับโทษจำคุกเพราะมีความผิดทางอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือข้อหาเบิกความเท็จในข้อสำคัญในคดี มาตรา 177 วรรค 1 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

 

อายุความฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระ : มีกำหนดอายุความเพียง 5 ปี

การตกลงให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย (ที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี)

 

คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นมาทบต้นเข้ากับต้นเงิน แล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น สัญญากู้ยืมเงินหาย ผู้ให้กู้มีสิทธินำสำเนาหรือพยานบุคคลมานำสืบได้  ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2536 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินแล้ว นำสืบว่าการยืมเงินมีมูลหนี้เดิมมาจากการซื้อขายรถยนต์ เป็นการสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้นั้นมีมูลมาอย่างไร ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น เมื่อการยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีอยู่จริงและสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เพียงแต่ขาดหลักฐานแห่งการกู้ยืม ค่าเสียหาย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ตามกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หนี้ดังกล่าวมีการจำนองเป็นประกัน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามสัญญายืมจึงย่อมบังคับเอากับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองได้ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์ว่า การนำสืบถึงมูลหนี้เดิมของการยืมเป็นการสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

 

ประเด็น อายุความฟ้องคดีทายาทผู้กู้ที่เสียชีวิต ภายใน 1 ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8811/2556 สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงิน และเมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อนที่โจทก์ทวงถามก็ไม่อาจใช้อายุความทั่วไปตามที่โจทก์ฎีกาเพราะสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดนั้น ค่าเสียหาย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์เบิกความรับว่า ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และโจทก์อยู่ช่วยงานศพด้วย แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ส. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม

 

ประเด็น นำคำเบิกความในคดีอื่นมายื่นฟ้องได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535 หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรกนั้น อาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ ค่าเสียหาย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า บันทึกคำให้การพยานที่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์คดีนี้จริงและยังมิได้ชำระหนี้คืนนั้น เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้

 

 ประเด็น สัญญากู้ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจน สามารถเรียกได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2518 สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยทุกเดือน ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า แม้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ผู้ให้กู้เรียกค่าดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันกู้

 

ประเด็น เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2534

สัญญากู้ระบุให้ตกลงคิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนอัตราดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ค่าเสียหาย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด.

 

อายุความ

กรณีมีกำหนดระยะเวลากู้ยืม เจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญา

กรณีไม่มีกำหนดระยะเวลากู้ยืม ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า เจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับถัดจากวันทำสัญญากู้ยืม เช่น ทำสัญญา วันที่ 30 มกราคม 2540  ไม่กำหนดระยะเวลาชำระคืน อายุความในการฟ้องร้องคดีจะเริ่มวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 และคดีหมดอายุความในวันที่ 30 มกราคม 2550

 

ถ้าพ้นกำหนดนี้แล้ว ค่าเสียหาย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า คดีเป็นอันขาดอายุความ ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลได้

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

 

มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี

 

มาตรา 655 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงิน แล้วให้คิดดอกเบี้ยจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องเป็นทำเป็นหนังสือ

 

 มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น

อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

 

มาตรา 681/1 ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่กรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นนิติบุคคลและยินยอมเข้าผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ในกรณีเช่นนั้นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 688 มาตรา 689 และมาตรา 690

 

 มาตรา 291 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง

 

 

 

สรุปสาระสำคัญกฎหมายค้ำประกันแก้ไขใหม่ พ.ศ.2557

 

(1) เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป

 

(2) สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ำประกันหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากไม่ความชัดเจน อาจทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด

 

(3) สัญญาค้ำประกันจะมีข้อตกลงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น ไม่ได้ ตกเป็นโมฆะ ยกเว้นกรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นนิติบุคคล และยินยอมเข้าผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ในกรณีนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้เรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน หรือยกข้อต่อสู้อื่นๆที่ตนมีสิทธิ 

 

(4) ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ตามมาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 694 มาตรา 698 และ มาตรา 699 เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจะทำสัญญากันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ได้ หากฝ่าฝืน จะตกเป็นโมฆะ

 

(5) ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เดิมกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจน แต่กฎหมายใหม่ได้เขียนขั้นตอนให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้

 

(6) ถ้าเจ้าหนี้ลดจำนวนหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น ให้แก่เจ้าหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ลดลงเท่านั้น รวมทั้งกำหนดให้ข้อตกลงใดที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกัน เป็นโมฆะ

 

(7) การตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมในการผ่อนเวลานั้นๆด้วย  เช่นนี้ กฎหมายใหม่ให้ถือว่าตกเป็นโมฆะ

 

ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอนและเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ 

 

การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข ต้องกำหนดรายละเอียดของหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน รวมทั้งจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญานั้น

 

ผู้ค้ำประกันสามารถค้ำประกันหนี้ในอนาคตได้โดยต้องระบุมูลหนี้ให้ชัดเจน กล่าวคือ ระบุจำนวนวงเงินค้ำประกันสูงสุดที่ค้ำประกัน และกำหนดวันสิ้นสุดของการค้ำประกันเพื่อให้ผู้ค้ำประกันทราบอย่างชัดเจน

 

(8) การจำนองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น(ผู้จำนองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) จะมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจำนองแล้วยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จำนองยังคงรับผิดชำระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้ จะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่

 

กำหนดให้ผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด รวมถึงให้ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้จำนองต้องรับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ เว้นแต่กรณีการจำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของนิติบุคคล ซึ่งมิใช่บริษัทมหาชนจำกัด และในกรณีนั้นมีผู้มีอำนาจบริหารจัดการนิติบุคคล หรือผู้ถือหุ้นเกินร้อยละ 25 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จำนองทรัพย์

 

(9) กฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จำนองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจำนองให้จบๆไป แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธินี้แก่ผู้จำนอง ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาดภายใน 1 ปี (โดยไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพราะฝ่ายผู้จำนองเป็นฝ่ายเร่งรัดเอง)

 

กำหนดให้สิทธิแก่ผู้จำนองในการแจ้งต่อผู้รับจำนองเพื่อให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาล

 

ขั้นตอนและเงื่อนไขที่ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดแทนการขายทอดตลาดเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดแทนการขายทอดตลาดให้ชัดเจนขึ้น

 

หน้าที่ของเจ้าหนี้ในการบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดและผลกรณีเจ้าหนี้มิได้บอกกล่าว และกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้

 

กำหนดขั้นตอนให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันไม่ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า กรณีที่เจ้าหนี้ไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน  ตลอดจนค่าภาระติดพันในหนี้นั้นที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว

 

กำหนดให้ข้อตกลงที่ผู้ค้ำประกันทำไว้ล่วงหน้าก่อนเจ้าหนี้ผ่อนระยะเวลาการชำระหนี้อันมีผลเป็นการยินยอมให้เจ้าหนี้ผ่อนเวลา ข้อตกลงนั้นใช้บังคับไม่ได้ ยกเว้นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระข้อตกลงล่วงหน้าเกี่ยวกับการผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้ใช้ได้ต่อไป

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า

1 กรณีไม่ระบุดอกเบี้ยไว้ในสัญญา เมื่อมีการฟ้องร้องกันสามารถคิดดอกเบี้ยได้เพียง 7.5 ต่อปีเท่านั้น

 

2 การฟ้องร้องเรียกดอกเบี้ยสามารถเรียกได้สูงสุดเพียง 5 ปีเท่านั้น

 

3 ก่อนดำเนินการฟ้องคดี ควรมีการบอกกล่าวทวงถามเป็นหนังสือที่เรียกว่า "โนติส" ก่อนเสมอ

 

4 การทำสัญญากู้ยืมเงิน ผู้กู้ต้องไม่ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า

 

5 การลงจำนวนเงิน ควรเขียนจำนวนเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อป้องกันการแก้ไขเติมจำนวนเงิน

 

6 ควรมีพยานร่วมลงลายมือชื่อกันฝ่ายละ 1 คน

 

7 สัญญากู้ยืมเงินถือเป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์ก่อนนำมาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง เสียค่าปิดอากรแสตมป์ 2,000 ต่อ 1 บาท สัญญาค้ำประกันเสีย 10 บาท

 

8 ก่อนฟ้องคดีโจทก์ควรต้องมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้"ผู้ค้ำประกันหนี้"ก่อน หากไม่ทวงถาม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ต้องชดใช้แก่โจทก์

 

9 สัญญาค้ำประกันต้องมีรายละเอียดให้ชัดเจน ในจำนวนหนี้ที่รับผิดชอบ ซึ่งควรแยกเป็นอีกฉบับหนึ่ง 

 

10 กรณีผิดนัด ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ย

Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่,  ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์


#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่

  

Share on Facebook

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×