ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่
ขอเรียนว่า ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาทุจริตโดยการหลอกลวง ด้วยการแสดงข้อความเท็จ
หรือปกปิดความจริงมาตั้งแต่แรก
และผลของการหลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหายหรือบุคคลที่สาม
ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ
ประเด็น กรณีมีทุจริตหลอกลวง
หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21183/2556
การที่จำเลยแอบอ้างขอสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากผู้เสียหายที่
1 ถึงที่ 15 โดยอ้างว่าจะนำไปเข้าร่วมโครงการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ
แต่กลับนำไปใช้เป็นเอกสารยื่นคำขอและทำสัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับผู้เสียหายที่
1 ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
และฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 188 และ 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2555
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 61 วรรคสอง
บัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับก็ตาม
แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า
เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบคำพิพากษานั้นและมิได้ระบุถึงผลของการประกาศโฆษณาโดยแจ้งชัด
ซึ่งตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัตินี้พออนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า
บุคคลภายนอกทราบคำพิพากษาให้ล้มละลายที่ประกาศโฆษณาแล้วหรือไม่เท่านั้น ดังนี้
ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบถึงคำพิพากษาให้ล้มละลายก็ได้
จำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย
และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2
ร่วมปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยที่ 1
ตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก่อนที่จะทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย
ทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่า จำเลยที่ 1 สามารถทำสัญญากู้ยืมเงินและมีผลบังคับตามกฎหมายได้
จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2
เป็นผู้ค้ำประกันและได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า การกระทำของจำเลยที่ 2
จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว จำเลยที่ 2
มีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
ประเด็น แม้มีเจตนาทุจริตที่เกิดขึ้นภายหลังรับมอบทรัพย์สินแล้วจะไม่ผิดฐานฉ้อโกง
แต่หากมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของตนก็อาจมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11465/2554
จำเลยเป็นคนนำรถเกรดถนนของ ส.
ที่ฝากไว้แก่ผู้เสียหายไปจากความครอบครองของผู้เสียหาย ตามที่ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยเคลื่อนย้ายไปจากปั้มแก๊สของผู้เสียหาย
เป็นกรณีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยด้วยความสมัครใจ
การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยรับรถเกรดถนนไปเพราะได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย
ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องนำรถเกรดถนนไปคืนแก่ทายาทของ ส. การที่จำเลยไม่นำไปคืน
แต่กลับนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งๆ
ที่ไม่ใช่รถเกรดถนนของตน ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ถือได้ว่าเมื่อจำเลยรับรถเกรดถนนไว้ในครอบครองแล้ว
จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต
การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก
ผู้จัดการมรดกของ ส.
รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น
จึงฟังได้ว่ามีการร้องทุกข์ภายในสามเดือน
นับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม
ป.อ. มาตรา 96
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ.
มาตรา 335 เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา
352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง
ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้
ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา
192 วรรคสาม
ประเด็น
ไม่มีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น ถือเป็นการผิดสัญญาทางคดีแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2535
จำเลยตกลงขายไม้ยางท่อนซุงและรับเงินค่าไม้จากผู้เสียหายโดยเจตนาขายไม้ยางท่อนซุงที่จำเลยได้ตกลงซื้อไว้
แต่จำเลยไม่สามารถ จัดส่งไม้ยางท่อนซุงให้ผู้เสียหายได้
เพราะทางราชการไม่อนุญาตให้ ทำไม้ดังกล่าว ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดสัญญาในทางแพ่ง เท่านั้น
หาเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงไม่
ประเด็น การแสดงตนเป็นผู้อื่น
ตามมาตรา 342(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2493
คำว่า "ปลอมตัวเป็นคนอื่น"
ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา306(1) นั้น
มุ่งหมายถึงการแสดงตัวให้เขาหลงเชื่อว่าเป็นคนอื่น ซึ่งไม่ใช่ตัวของตัวเอง
จำเลยใช้ถ้อยคำหลอกลวงให้เขาหลงเชื่อว่า
จำเลยเป็นนายร้อยตำรวจโทประจำกองสอบสวนกลางปทุมวัน(ระบุชื่อ)
เมื่อความจริงจำเลยมิใช่เป็นนายร้อยตำรวจประจำกองสอบสวนกลางแล้ว
แม้จะไม่ปรากฏว่ามีนายร้อยตำรวจโทชื่อนั้นในกองสอบสวนกลางหรือไม่ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ก็ถือว่าเป็นการปลอมตัวตามความหมายในมาตรา306(1)
แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า
จำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2
ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น
แต่ตามทางพิจารณาที่ได้ความนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยหลอกลวง ส. มารดาผู้เสียหายที่
2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเงินก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2
เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้
และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงินที่จำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวงดังกล่าว
เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ผู้เสียหายที่ 2
ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว
จำเลยหลอกลวงด้วยการทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับ
ป. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินที่จำเลยนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากผู้เสียหายที่
2 จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายที่ 2
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
ประมวลกฎหมายอาญา ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 341
ผู้ใดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน
6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้กระทำ
(1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
(2)
อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก
หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341
ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน
หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก
ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง
14,000 บาท
มาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้
นอกจากความผิดตามมาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่
1 ความผิดอันยอมความได้
ผู้เสียหายต้องแจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีเอง ภายใน 3
เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดด้วย มิเช่นนั้นคดีขาดอายุความ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 แต่เมื่อได้ร้องทุกข์เจ้าพนักงานสอบสวนแล้ว
ก็สามารถฟ้องคดีเองได้ภายใน 10 ปี
2 การถอนแจ้งความร้องทุกข์
หรือกรณีที่ฟ้องคดีเอง ก็สามารถถอนฟ้องได้ ผลก็คือ
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นอันระงับ
3 การหลอกหลวง ตามมาตรา 342 เช่น
นำรูปภาพของบุคคลอื่นมาหลอกให้หลงรัก และได้รับทรัพย์สินเงิน ทอง เป็นต้น
Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่, ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์
#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่
Share on Facebook